ปัจจุบันสถาบันการศึกษาไทยหลายแห่ง ได้เปิดกว้างให้เยาวชน ที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 “สายศิลป์” เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาใน “คณะสายวิทยาศาสตร์” เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นทางเลือกแก่น้อง ๆ เยาวชน ให้สามารถวางแผนศึกษาต่อในคณะที่ใช่ และตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด
เช่นเดียวกับ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) หรือ SCI-TU ที่ยินดีต้อนรับน้อง ๆ “สายศิลป์-คำนวณ” เข้ามาศึกษาต่อทั้งใน มธ. ศูนย์รังสิต และศูนย์ลำปาง เพียงมีคุณสมบัติครบ GPAX ถึงที่กำหนด แต่รายละเอียดหลักสูตรที่เปิดรับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้จากรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคปกติ) หลักสูตรที่เปิดสอนใน 2 วิชาเอก คือ ‘คอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ’ เรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างเข้มข้น เพื่อนำไปต่อยอดเป็นระบบ AI กระบวนการซอฟต์แวร์และการพัฒนา การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ และ ‘เทคโนโลยีการเรียนรู้’ ที่เน้นเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย เน้นให้เข้าใจธรรมชาติของการรับรู้-เรียนรู้ของมนุษย์ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและพัฒนาซอฟต์แวร์ ในการสร้างสรรค์และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้อื่น ทั้งการออกแบบ UX/UI หรือการพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยมีอาชีพที่น้อง ๆ สามารถเลือกทำอย่างหลากหลาย ได้แก่ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น แอปพลิเคชันบนมือถือ เว็บแอปพลิเคชัน เกม นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ นักออกแบบ UI/UX ฯลฯ
• ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cs.tu.ac.th/course.php?gid=35&sid=45 (ภาคปกติ)
2. หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ) หลักสูตรที่สอนเกี่ยวกับ ‘คอมพิวเตอร์ประยุกต์’ ที่เน้นเรียนหลักการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แบบกระชับเช่นเดียวกับเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้ เพื่อปูพื้นฐานความรู้ โดยจะมีวิชาที่เน้นให้พร้อมสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งหลักการวางแผนและการจัดการซอฟต์แวร์ Tester, Network & System Admin, Data Scientist หรือวิทยาการข้อมูล รวมถึงนักบริหารจัดการสารสนเทศในองค์กร ซึ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะในการปฏิบัติงานจริง น้อง ๆ จะได้ใบประกาศนียบัตรรับรองความสามารถในด้านต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับในสายงานนั้น ๆ อีกด้วย โดยน้อง ๆ ที่เลือกเรียนในหลักสูตรดังกล่าว สามารถต่อยอดในสายอาชีพต่าง ๆ ได้จำนวนมาก ได้แก่ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ นักวิทยาการข้อมูล นักวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดและธุรกิจ นักออกแบบนวัตกรรมและโซลูชั่นอัจฉริยะ ฯลฯ
• ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cs.tu.ac.th/course.php?gid=36&sid=50 (ภาคพิเศษ) http://bit.ly/2u9D7TS (ความแตกต่างระหว่างภาคปกติ และภาคพิเศษ)
3. หลักสูตรคณิตศาสตร์การจัดการ (ภาคพิเศษ) หลักสูตรปริญญาตรีควบโท หลักสูตรมาแรงที่น้อง ๆ สามารถเลือกเรียนได้ โดยเป็นการพัฒนาความรู้และทักษะที่หลากหลาย ผ่านการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ สถิติ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กับเทคโนโลยีการจัดการ เพื่อช่วยในการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดการความเสี่ยง ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดภายใต้สถานการณ์ที่จำกัดได้ รวมถึงแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญที่ทุกองค์กรต้องใช้ ดังนั้น น้อง ๆ ที่เลือกศึกษาต่อในหลักสูตรนี้ มั่นใจได้เลยว่าจบไปมีงานทำแน่นอน อาทิ สายงานด้านอุตสาหกรรม การจัดการกระบวนการดำเนินงาน สายงานด้านโลจิสติกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การขนส่งหรือสายการบิน และ สายงานด้านธุรกิจการเงิน การวิเคราะห์งบประมาณ การวิเคราะห์การลงทุน การจัดการรายได้
• ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://math.sci.tu.ac.th/?p=program&type=bsc_immaspecial
https://www.u-review.in.th/th/edu/153
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจอย่ารอช้า ร่วมเป็นครอบครัว SCI-TU เพียงตรวจสอบคุณสมบัติ พร้อมยื่นใบสมัครในระบบ TCAS ได้ที่ www.mytcas.com โดยทั้ง 3 หลักสูตรข้างต้น มีกำหนดเปิดรับสมัครในระบบ TCAS จำนวน 2 รอบ ได้แก่ รอบที่ 3 (รับตรงร่วมกัน) ระหว่างวันที่ 17-27 เมษายน 2563 และ TCAS รอบที่ 4 (รับกลางร่วมกัน) ระหว่างวันที่ 7-20 พฤษภาคม 2563
ติดตามรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2563 www.tuadmissions.in.th หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 02-564-4440-59 ต่อ 2010 เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/ScienceThammasat เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th
สมศ.กำหนดแนวทางให้สถานศึกษาที่ประสงค์ขอรับการประเมินภายนอกรอบสี่ สามารถใช้รายงานประเมินตนเองของปีการศึกษา 2561 ส่งไปยังต้นสังกัดผ่านทางระบบ Automated QA หรือ AQA โดยระบบเป็นแบบออนไลน์ ช่วยลดความเสี่ยงการติดต่อและการสัมผัสระหว่างบุคคลในช่วงการระบาดของโรคโควิด – 19 นอกจากนี้ ยังเตรียมแนวทางการรับมือหากสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าวยืดเยื้อ
Copyright © 2020 JC&CO | All Rights Reserved